วันอาทิตย์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

365ปี บันทึกของปินโต : หลักฐานประวัติศาสตร์นิพนธ์หรือนิยายผจญภัย



ปินโตเป็นชาวเมืองมองเตอมูร์เก่า (Motemor-o-velho) ใกล้เมืองกูอิงบรา (Coinbre)ในราชอาณาจักรโปรตุเกส ปินโตเกิดในครอบครัวยากจนระหว่างค.ศ. 1509-1512 เมื่ออายุประมาณ 10 หรือ 12 ขวบจึงต้องเป็นเด็กรับใช้ของสุภาพสตรีผู้หนึ่ง ชีวิตของเขาตกอยู่ในอันตรายจนต้องหลบหนีลงเรือจากเมืองกูแอ ดึแปดรา การผจญภัยของปินโตเริ่มขึ้นเมื่อเดินทางไปถึงเมืองดิว ขณะมีอายุได้ 28 ปี

ปินโตเคยเผชิญปัญหาเรื่องอับปาง 5 ครั้ง ถูกขาย 16 ครั้ง และถูกจับเป็นทาสถึง 13 ครั้ง ชีวิตในเอเชียของปินโตเคยผ่านการเป็นทั้งกลาสีเรือ ทหาร พ่อค้า ทูตหรือนักสอนศาสนา ปินโตเคยเดินทางเข้าสยาม 2 ครั้ง ครั้งแรกเข้ามาในปัตตานีและนครศรีธรรมราชก่อนค.ศ. 1548 ครั้งที่2 เข้ามายังกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็กพระไชยราชาธิราช (ค.ศ. 1534-1546) หลักปินโตถึงแก่กรรม บุตรีของเขาได้มอบต้นฉบับหนังสือ ให้แก่นักบวชสำนักหนึ่งแห่งกรุงลิสบอน ต่อมากษัตริย์ฟิลิปที่1 ทรงได้ทอดพระเนตรงานนิพนธ์ชิ้นนี้ บุตรีของปินโตจึงได้รับพระราชทานบำเหน็จแทนบิดา

งานเขียนของปินโตถูกนำเสนอในรูปของร้อยแก้ว ปินโตระบุว่า การเล่าเรื่องการเดินทางของเขามีจุดมุ่งหมายเพื่อให้มีการเรียนรู้สภาพภูมิศาสตร์ของโลกให้มากยิ่งขึ้น มิได้มีจุดประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความท้อถอยในการติดต่อกับดินแดนแถบเอเชีย เขาระบุว่าอุทิศการทำงานให้แก่พระเจ้ามิได้หวังชื่อเสียง สิ่งที่ผลักดันให้เขาเดินทางไปยังตะวันออก คือ ธรรมชาติของลูกชาย เพื่อทัศนศึกษาดินแดนต่างๆในโลกกว้างและเพื่อเรียนรู้เรื่องราวของ "คนป่าเถื่อน" จุดมุ่งหมายที่จริงจังของปินโตและโคแกนสะท้อนให้เห็นคุณค่าของเหตุการณ์ สถานที่ ทรัพยากรอารมณ์ ความรู้สึกและวัฒนธรรมอันหลากหลายของผู้คนที่ปรากฏในหนังสือ

คุณค่าทางประวติศาสตร์เกี่ยวกับราชอาณาจักรสยาม
บันทึกของปินโตนับเป็นเอกสารสำคัญที่กล่าวถึงเรื่องราวส่วนหนึ่งเกี่ยวกับทรัพยากร การทหาร วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ กฏหมายและเรื่องราวในราชสำนักสยามกลางคริสต์ศตรวรรษที่16 และมักจะถูกอ้างอิงเสมอเมื่อกล่าวถึงบทบาทการทหารของชุมชนโปรตุเกส เรื่องราวในหนังสือ สอดคล้องกับงานเขียนของนักประวัติศาสตร์ชาวโปรตุเกสหลายคน อาทิ การกล่าวถึง โดมิงกุส ดึ ไซซัส นอกจากนี้ อี.ดับเบิ้ลยู. ฮัทชินสัน ก็อ้างตามหลักฐานของปินโตว่า "ทหารโปรตุเกสจำนวน120คนซึ่งสมเด็จพระไชยราชาธิราชทรงเจ้าเป็นทหารรักษา พระองค์ได้สอนให้ชาวสยามรู้จักใช้ปืนใหญ่"
ความน่าเชื่อถือ
หนังสือของปินโตถูกตีพิมพ์เผยแพร่อย่างกว้างขวางในยุโรป จึงเป็นเหตุให้เขาถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง งานเขียนของปินโตบางส่วนมีรูปแบบเป็นจดหมายติดต่อกับบุคคล และปินโตยังยืนยันว่าเขาได้รับจดหมายฝากฝังจากผู้สำเร็จราชการโปรตุเกสแห่งเมืองกัว เพื่อให้ได้เข้าเฝ้ารับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระราชินีแคเธอรีนแห่งโปรตุเกส แสดงให้เห็นถึงความพยายามในการอ้างอิงพยานบุคคลของเขา
หลักฐานของปินโตกับปัญหาในการศึกษาชุมชนโปรตุเกสสมัยอยุธยา
ความสัมพันธ์ของคนภายในค่าย ความสัมพันธ์ของคนระหว่างค่ายโปรตุเกสกับราชสำนักอยุธยา ความสัมพันธ์ระหว่างค่ายโปรตุเกสกับมะละกา กัว มาเก๊า รวมไปถึงอาชีพ จำนวนคนและความเป็นอยู่ในค่ายโปรตุเกสสมัยอยุธยา ก็อาจต้องใช้ความพยายามในการศึกษาและวิเคราะห์หลักฐานชิ้นนี้มากพอควร
สรุป
ผู้เขียนเห็นว่างานนิพนธ์ของปินโตมีคุณค่าในทางประวัติศาสตร์มากกว่าจะถูกมองว่าเป็นเพียงวรรณกรรมประโลมโลกหรือนิยายผจญภัยของกลาสีเรือ แม้เนื้อหาบางตอนจะดูตื่นเต้นเร้าใจเกินกว่าจะมีความสมจริงตามทัศนะของนักประวัติศาสตร์ ข้อถกเถียงในงานของปินโตอาจจะดูมีอยู่ไม่น้อย แต่มีหลักฐานประวัติศาสตร์ชิ้นใดบ้างที่ปราศจากคำถามและความเคลือบแคลง
งานของปินโตถูกตั้งขอสงสัยเกี่ยวกับความแม่นยำของศักราชก็เพราะบันทึกของเขาเป็นเอกสารที่เขียนขึ้นจากความทรงจำเมื่อเขาเดินทางกลับไปใช้ชีวิตอยู่ในโปรตุเกสระยะหนึ่งแล้ว ในทางกลับกันอาจจะมีผู้ใช้บันทึกของปินโตมาตรวจสอบความแม่นยำของเอกสารฉบับใดฉบับหนึ่งอย่างจริงจังในอนาคตบ้างก็ได้




วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บทที่ 2
ประวัติศาสตร์การท่องเที่ยวจากยุคเริ่มต้น
ถึงช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่2

ชาวโรมันมีการเดินทางกันอย่างกว้างขวางตั้งแต่ 3000 ปีก่อนคริสตกาลเนื่องจากความกว้างใหญ่ไพศาลของอาณาจักรโรมัน ชาวโรมันเข้าครอบครองเมืองปอมเปอี เมื่อ 80 ปีก่อนคริสตกาล ทำให้เมืองนี้กลายเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของคนมั่งมีทั้งหลาย ชาวโรมันพากันมาเที่ยวที่อ่าวเมืองเนเปิล มีการสร้างบ้านพักและวิลล่าที่สวยงาม ปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดการเดินทางสมัยนั้นคือ ความมั่นคงทางการเมืองและความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ ชาวโรมันมีอำนาจในการซื้อมากและเป็นนักล่าของที่ระลึกชาติแรกๆของโลก คือ ภาพวาดจิตรกรที่สำคัญๆ ชิ้นส่วนแขนขา ของรูปแกะสลักพวกนักบุญหรือเทพีต่างๆซึ่งทำจากหินอ่อนหรือสำริด การกระจายอำนาจทางการบริหารและอำนาจทางทหารในยุคอาณาจักรโรมันทำให้คนโรมันเดินไปต่างประเทศเพื่อเยื่อยมญาติและเพื่อนฝูง การพัฒนาทางด้านการสื่อสารอย่างรวดเร็วประกอบกับชัยชนะของชาวโรมัน ทำให้ การเดินทางมีมากขึ้น การมีถนนชั้นเยี่ยม และสถานที่พักแรม ทำให้การเดินทางมีควาปลอดภัย รวดเร็วและสะดวกขึ้น อาณาจักรโรมันล่มสลายลงใน ค.ศ 476หรือในตอนกลางคริสตศตวรรษที่5 ทวีปยุโรปเข้าสู่ยุคกลาง (The Middle Age) หรือยุคมืด (Dark Age)

การพัฒนาการคมนาคมทางถนนในคริสตศตวรรษที่17 ถึงต้นศตวรรษที่ 19
การพัฒนารถม้า 4 ล้อ ที่มีระบบกันสะเทือนด้วยสปริงนับเป็นความก้าวหน้าครั้งใหญ่สำหรับคนที่จะต้องเดินทาง รถม้า ตู้ทึบชนิด4ล้อ โดยมีจุดเปลี่ยนม้าระหว่างทางมีส่วนช่วยอย่างสำคัญในเรื่องการเดินทาง พาหนะแบบนี้ได้เริ่มมีขึ้นในประเทศอังกฤษในต้นศตวรรษที่17 เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายทั่วทั้งทวีป เมื่อกลางศตวรรษที่18 เช่นประเทศออสเตรเลียได้เริ่มใช้รถตู้และลากด้วยม้าเป็นครั้งแรกในปี คศ.1749 การสร้างรถม้าที่ลดการกระแทกด้วยระบบการแขวนตัวรถด้วยสายหนัง ทำให้การเดินทางมีควาสบายมากขึ้น ในศตวรรษที่18 มีระบบทางด่วนที่ผู้โดยสารต้องจ่ายค่าผ่านทางเกิดขึ้น โดยมีการปรับปรุงผิวการจราจรทำให้รถตู้4ล้อ ลากด้วยม้าซึ่งบรรทุกคนได้ระหว่าง8-14คนวิ่งได้ถึง 40 ไมล์ต่อวันในช่วงฤดูร้อน ต่อมามีการปรับปรุงระบบกันสะเทือนที่เป็นโลหะทำให้เกิดควาสบายมากขึ้น รถเทียมม้าชนิดนี้มีส่วนช่วยในการพัฒนาการเดินทางภายในอาณานิคมของทวีปอเมริกาเหนือด้วย ประมาณ คศ. 1815 ถนนหนทางในทวีปยุโรปมีการพัฒนาดีขึ้น หลุมบ่อลดน้อยลง มีการพัฒนารถโดยสารสาธารณะที่เรียกว่า Charabanc เป็นครั้งแรกในปี คศ. 1832 รถแบบนี้ได้ถูกนำมาใช้กับรถยนต์โยสารเพื่อการท่องเที่ยวในตอนต้นศตวรรษที่20 ทำให้การเดินทางถายในเมืองสะดวกขึ้น

การท่องเที่ยวในศตวรรษที่20 (1901-200) ช่วง 50ปีแรก (1901-1950)

คนนิยมเดินทางด้วยรถส่วนตัวมากขึ้น มีการพัฒนาถนน พัฒนารถบรรทุกที่ขนสัมภาระในสงคราม ให้เห็นเป็นรถ Coach พาหนะแบบนี้ได้รับความนิยมมากในช่วงทศวรรษที่ 1920 รถ Coach แบบหรูของบริษัท Motorways แบบนั่งสบายขนาด 15 ที่นั่ง มีบาร์ มีห้องน้ำ วิ่งบริการในยุโรปและอเมริกาเหนือ ทศวรรษที่ 1920 การเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวก็เป็นการท่องเที่ยวที่นิยมในหมู่คนชั้นกลางในประเทศอังกฤษ คนเดินทางด้วยรถไฟน้อยลง การกำเนิดอุตสาหกรรมการบินในระยะแรกเป็นสัญญาณบ่งบอกให้เห็นถึงจุดเริ่มต้นของการสิ้นสุดของบริการทางรถไฟและเรือกลไฟ เพราะบริการทางการบินในตอนแรกยังคงมีราคาแพง ขลุกขลัก ต้องหยุดพักบ่อย แต่การขนส่งผู้โดยสารหลังสงครามโลกครั้งที่2ที่เครื่องบินได้รับการพัฒนามากและดีพอที่จะทำการขนส่งผู้โดยสารเป็นการพาณิชย์และเป็นการบินระหว่างประเทศ

การท่องเที่ยวหลังสงครามโลกครั้งที่2

ความสนใจของผู้คนที่จะเดินทางไปต่างประเทศเพิ่มขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่2 เช่น เกิดความต้องการที่จะเห็นสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับสงคราม เช่น หาดนอร์มังดีของฝรั่งเศส การยุติสงครามโลกครั้งที่2ในปี คศ. 1945 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องรูปแบบของการเดินทางครั้งสำคัญนั้น การเดินทางระยะไกลด้วยเครื่องบินซึ่งเป็นผลมาจากความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีการบินได้เกิดขึ้นในปีคศ.1970 ผู้ประกอบการท่องเที่ยวเช่าเหมาลำเพื่อทำธุรกิจทัวร์เหมา ซึ่งเฟื่องฟูอย่างมาก หลังสงครามโลกครั้งที่2 ได้จัดทัวร์เหมาเดินทางด้วยเครื่องบินเช่าเหมาลำ พานักท่องเที่ยวเดินทางจากนิวยอร์คไปชิคาโก เพื่อดูการแข่งขันมวย ในทศวรรษที่ 1960 มีการจัดทัวร์เหมาไปแถบเมดิเตอเรเนี่ยน อย่างแพร่หลาย














วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บทที่ 1


ความหมาย ความสำคัญของการท่องเที่ยว


การท่องเที่ยวเป็นรูปแบบกิจกรรมหนึ่งของนันทนาการ ซึ่งคล้ายกับกีฬา หรืองานอดิเรก และการใช้เวลาว่าง นอกจากนี้เมื่อการท่องเที่ยวเกี่ยวข้องกับการเดินทาง จึงมีปัญหาตามมาว่า การเดินทางที่จัดเป็นการท่องเที่ยว ต้องมีจุดประสงค์อย่างไร และเดินทางด้วยระยะทางเท่าใด
การเดินทางจัดเป็นการท่องเที่ยวต้องมีลักษณะดังนี้

  • เป็นการเดินทางจากที่อยู่อาศัยปกติไปยังที่อื่นเป็นการชั่วคราว
  • เป็นการเดินทางด้วยความสมัครใจ
  • เป็นการเดินทางด้วยวัตถุประสงค์ใดๆ ก็ตามที่มิใช่เพื่อการประกอบอาชีพและการหารายได้

นักท่องเที่ยว (Tourist)
คือผู้มาเยือนชั่วคราว และพักอาศัย ณ สถานที่ที่ไปเยี่ยมเยือนอย่างน้อย 24 ชั่วโมง ด้วยจุดประสงค์เพื่อใช้เวลาว่าง (เพื่อกิจกรรมนันทนาการ สุขภาพ การกีฬา วันหยุด การศึกษาหรือศาสนา) หรือเพื่อประกอบธุรกิจ เยี่ยมเยือนญาติพี่น้อง ปฏิบัติภาระกิจบางอย่างหรือการประชุม
นักทัศนาจร (Excursionist)
คือผู้มาเยือนชั่วคราวและพักอาศัย ณ สถานที่ที่ไปเยี่ยมเยือน ไม่เกิน 24 ชัวโมง รวมถึงผู้เดินทางโดยเรือสำราญ(Cruise Travellers) แต่ไม่รวมผู้โดยสารผ่าน (Transit)
วัตถุประสงค์ของการเดินทางท่องเที่ยว
การเดินทางเพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนานและพักผ่อน (Holiday) เป็นการเดินทางของนักท่องเที่ยวที่มีวัตถุประสงค์ต้องการความเพลิดเพลิน สนุกสนาน รื่นเริง ทั้งนี้เพราะนักท่องเที่ยวเหล่านี้มีวันหยุดจำกัด วันหยุดที่มีจิงถูกใช้ไปโดยไม่นำเอาเรื่องของภาระหน้าที่ การงานเข้ามาเกี่ยวข้อง นักท่องเที่ยวต้องการหลีกหนีความจำเจของชีวิตประจำวัน เพื่อไปชมหรือสัมผัสกับสิ่งแปลกใหม่ อาทิ การเดินทางไปอาบแดดชายทะเล การเดินทางไปเล่นน้ำตก ไปสวนสนุก
การเดินทางเพื่อธุรกิจ (Business) เป็นการเดินทางที่ควบคู่ไปกับการทำงานแต่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบอาชีพ หรือหารายได้จากสถานที่ที่ไปท่องเที่ยวนั้น อาทิ การเดินทางไปประชุมเกี่ยวกับวาระต่างๆ การเดินทางไปร่วมงานจัดแสดงสินค้า การเดินทางไปสำรวจตลาด
การเดินทางเพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ ยังมีการเดินทางอีกจำนวนหนึ่งที่นอกเหนือจาการเดินทางด้วยวัตถุประสงค์ 2ประการ อาจเรียนกว่าเป็นการเดินทางด้วยวัตถุประสงค์เฉพาะ อาทิ การเดินทางไปศึกษาธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรม การเดินทางไปเผยแพร่ศาสนา การเดินทางไปแข่งกีฬา

ประเภทการท่องเที่ยว การแบ่งตามสากล

  • การท่องเที่ยวภายในประเทศ หมายถึง ผู้ที่อยุ่อาศัยภายในประเทศนั้นๆ เดินทางเที่ยวภายในประเทศของตน อาทิ การเดินทางไปร่วมงานเทศกาลสงกรานต์ที่จังหวัดเชียงใหม่ การเดินทางไปประชุมที่จังหวัดภูเก็ต
  • การท่องเที่ยวเข้ามาภายในประเทศ หมายถึง ผู้ที่มีถิ่นพำนักอาศัยที่อื่นเดินทางเข้ามาภายในประเทศนั้นๆ อาทิ การเดินทางไปเล่นน้ำทะเลของชาวอเมริกัน การเดินทางมาร่วมงานแสดงสินค้าในประเทศไทยจากทั่วโล
  • การท่องเที่ยวนอกประเทศ หมายถึง ผู้ที่มีถิ่นพำนักอยู่ในประเทศหนึ่งเดินทางออกไปท่องเที่ยวยังต่างประเทศ

การแบ่งตามลักษณะการจัดการเดินทาง

  • การท่องที่ยวแบบหมู่คณะหรือที่เรียกว่าGroup Inclusive Tour:GIT การท่องเที่ยวแบบนี้แบ่งออกเป็นอีก2ลักษณะคือ กรุ๊ปเหมา และกรุ๊ปจัด กรุ๊ปเหมาคือการท่องเที่ยวของคณะนักท่องเที่ยวซึ่งมีความสัมพันธ์กัน อาจจะเป็นทางด้านส่วนตัวหรือหน้าที่การงาน ส่วนกรุ๊ปจัด คือการเดินทางของคณะนักท่องเที่ยวซึ่งไม่มีความสัมพันธ์ทั้งทางด้านส่วนตัวและด้านหน้าที่การงาน แต่มีความต้องการที่จะเดินทางร่วมกันไปยังสถานที่เดียวกัน
  • การท่องเที่ยวแบบอิสระ การท่องเที่ยวประเภทนี้ นักท่องเที่ยวต้องการความเป็นอิสระ และมักเดินทางตามลำพัง นักท่องเที่ยวอาจวางแผนด้วยตัวเอง หรือ ใช้บริการบริษัทนำเที่ยวก็ได้

การแบ่งตามวัตถุประสงค์ของการเดินทาง

  • การท่องเที่ยวเพื่อความเพลิดเพลินและพักผ่อน อาทิ การเล่นน้ำทะเล การชมดอกไม้ การนั่งรถชมเมือง
  • การท่องเที่ยวเพื่อธุรกิจ กิจกรรมหลักที่เกิดคือกิจกรรมทางธุรกิจทั่วไปและที่จัดอยู่ในกลุ่ม MICEส่วนกิจกรรมเสริมอาจจะเป็นกิจกรรมเพื่อการพักผ่อนคลายเครียด ความสนุกสนาน
  • การท่องเที่ยวเพื่อวัตถุประสงค์พิเศษ เช่น การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ,การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและกีฬา ,การท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม ,การท่องเที่ยวเพื่อนสัมผัสชาติพันธุ์และวัฒนธรรมพื้นถิ่น ,การท่องเที่ยวเพื่อการศึกษา