วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553

ท่องเที่ยว


ประวัติความเป็นมา
หัวหิน เป็นอำเภอที่ทุกคนรู้จักกันเป็นอย่างดีทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ เดิมมีชื่อว่า "บ้านสมอเรียง" หรือ "บ้านแหลมหิน" ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ได้ทรงสร้างวังไกลกังวลเพื่อประทับพักผ่อนในฤดูร้อน และปัจจุบันวังไกลกังวลนั้นเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันทุกวันนี้หัวหินมีชื่อเสียงจากการเป็นสถานที่ตากอากาศที่สามารถเที่ยวได้ใน 1 วัน

การเดินทาง

อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครเพียง 281 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 2.5-3 ชั่วโมงหากโดยสารทางรถ หรือ 45 นาทีหากเดินทางโดยเครื่องบิน











หาดหัวหิน


ชายหาดหัวหิน คือเสน่ห์อย่างแรกที่สร้างชื่อให้หาดนี้เป็นที่รู้จัก ทรายที่ขาวสะอาด ทอดยาวกว่า 5 กิโลเมตร บรรยากาศยังเงียบสงบแม้ไม่เท่าในอดีต สิ่งที่เปลี่ยนไปคือมีที่พักริมหาดอำนวยความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น สิ่งที่หัวหินยังรักษาเอาไว้ได้อย่างเหนียวแน่นนั่นก็คือ แม้จะผ่านกาลเวลามาถึงวันนี้ทางเทศบาลก็พยายามไม่ให้มีเครื่องเล่นทางน้ำมารบกวนบรรยากาศให้เสียความสงบไป(อันที่จริงแล้วจะเกิดอันตรายอย่างมากกับเครื่องเล่นทางน้ำ เนื่องจากชายหาดหัวหิน จะมีก้อนหินขนาดใหญ่อยู่ในน้ำทะเลเป็นจำนวนมาก) มีเพียงการขี่จักรยานริมหาด ขี่ม้าเดินไปตามชายหาด





เพลินวาน

เพลินวาน จะย้อนความทรงจำยุคไปสมัยของวันวาน 2499 เพลินวาน” ให้คำจำกัดความตัวเองว่า เป็นหมู่บ้านย้อนยุค ภายในประกอบไปด้วย ร้านค้าย่อยๆหลายร้าน ทั้งร้านกาแฟโบราณ รถขายปลาหมึก ห้องเสื้อย้อนยุค ร้านขายของเล่น ร้านเหล้าสมัยอดีต มุมงานวัด ปาเป้า ยิงปืน ให้ความรู้สึกเหมือนเข้าไปอยู่ในหนัง 2499 ประมาณนั้น ยิ่งได้เห็น staff และนักท่องเที่ยวหลายท่าน แต่ตัวย้อนยุค มาเที่ยวที่นี่กันด้วย ยิ่งแยกไม่ออกแล้ว ว่าเราอยู่ยุคไหนกันแน่ เข้ามาเหมือนหลุดมาอีกโลกหนึ่ง









เขาตะเกียบ




เขาตะเกียบชายหาด เขาตะเกียบ - เป็นชายหาดที่มีความงดงามไม่แพ้กับชายหาด หัวหิน ชายหาดมีความยาวเป็นระยะทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร เพราะเป็นชายหาดที่ค่อนข้างสงบ จึงยังมีน้ำทะเลที่ใสสะอาด และหาดทรายขาวบริสุทธิ์วัดเขาตะเกียบ - วัดเขาตะเกียบ ตั้งอยู่บนเขาตะเกียบ เป็นวัดที่สวยงาม ทั้งยังมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ท่านได้สักการบูชาอีกด้วย และพร้อมอำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นสถานที่จอดรถ บนวัดเขาตะเกียบยังมีจุดชมวิว ที่สามารถมองเห็นชายหาด หัวหิน และตัวเมือง หัวหิน















ตลาดโต้รุ้ง





ตลาดโต้รุ่งหัวหิน แต่เดิมนั้นเป็นตลาดฉัตรไชยแต่มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบในการค้าขายมาในเวลากลางคืนเนื่องจากความนิยมของนักท่องเที่ยวเป็นศูนย์รวมอาหารทะเลสด เป็นตลาดใหญ่ มีร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึกพื้นเมือง รวมทั้งเสื้อผ้าสำเร็จรูป รวมทั้งสินค้าต่าง ๆ มากมายเป็นสีสันยามราตรีของหัวหินและเป็นแหล่งรวมอาหารนานาชนิดอาทิ อาหารไทย อาหารทะเล ขนมไทย โรตีแขก เป็นต้น มีนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศแวะเวียนไปเสมอ นอกจากนี้ ยังมีร้านขายของที่ระลึกจำหน่ายอีกด้วย






เขาดิน
สวนสัตว์ดุสิต หรือ เขาดินวนา เป็นสวนสัตว์และสวนสาเขาดินเป็นสวนสัตว์ใหญ่ใจกลางกรุงเทพฯ มีพื้นที่ 118 ไร่ มีสัตว์ป่าราว ๆ 2,000 ตัว ทั้งที่หายากและเกือบจะสูญพันธุ์แล้ว มีต้นไม้นานาชนิดที่ให้ความร่มรื่นและบึงน้ำขนาดใหญ่ที่สวยงาม เหมาะเป็นที่ศึกษาเรียนรู้ชีวิตสัตว์สำหรับนักเรียน นักศึกษา และเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจสำหรับครอบครัว นักท่องเที่ยว และประชาชนทั่วไปธารณะแห่งแรกของประเทศไทย










สวนสยาม (Siam park city)
สวนสยาม
สวนสยาม เป็นสวนสนุกและสวนน้ำที่ตั้งอยู่ถนนเสรีไทย บนเนื้อที่ 300 ไร่ ได้ฉายาว่าทะลกรุงเทพ และคำขวัญคือ “สวนสยาม...โลกแห่งไทยความสุข สนุกไม่รู้ลืม”
สวนสยามเปิดดำเนินการมาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปี พ.ศ.2523 สวนสยามเป็นสวนสนุกที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย และมีทะเลโลก



วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553

บทที่ 10 กฎหมายสำคัญของไทย ที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว


อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับองค์กรณ์หลายฝ่ายทั้งรัฐและเอกชน และด้วยเหตุที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยไม่มีอำนาจเบ็ดเสร็จในการสั่งการในทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวดั้งนั้น
กฎหมายสำคัญของไทยที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
1.กฎหมายเกี่ยวกับองค์การที่ดูแลสนับสนุนการท่องเที่ยวโดยทั่วไป
2.กฎหมายควบคุมนักท่องเที่ยว
3.กฎหมายควบคุมดูแลและพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยว
4.กฎหมายควบคุมเกี่ยวกับธุรกิจการท่องเที่ยว
กฎหมายเกี่ยวกับองค์การที่ดูแลสนับสนุนการท่องเที่ยวโดยทั่วไป มีกฎหมายสำคัญจำนวน 4 ฉบับ ได้แก่
พระราชบัญญัติการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522 -คำจำกัดความของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ผู้ประกอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวและคณะกรรมการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
-ระเบียบเกี่ยวกับการจัดตั้งทุน และเงินสำรองของการ ท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ระเบียบเกี่ยวกับการกำกับ การควบคุมและการบริหารงานของททท.
พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545
-กฎหมายก่อตั้งกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาขึ้นรับผิดชอบด้านการท่องเที่ยว
-ให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) โอนภาระงานด้านการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว พัฒนาบริการท่องเที่ยว และทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวให้กับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
-ทำให้ททท.มีหน้าที่เพียงด้านการบริหารจัดการตลาดการท่องเที่ยวเป็นหลัก
พระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ.2544
-กำหนดให้มีการจัดตั้งสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยมี
วัตถุประสงค์เพื่อ
1)เป็นตัวแทนของผู้ประกอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในด้านการประสานงาน
2)ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
3)ส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี สถานที่ท่องเที่ยว โบราณสถาน และสิ่งแวดล้อมรวมทั้งเอกลักษณ์ของความเป็นไทย
4) ส่งเสริมให้มีจรรยามารยาทในการท่องเที่ยว
พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 ถึง 2546 (รวม 5 ฉบับ)
-เกี่ยวข้องกับการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
-จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก การกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุและผู้พิการ
-คุ้มครองดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
กฎหมายควบคุมนักท่องเที่ยว มีกฎหมายสำคัญ จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่
2.1พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522, 2523 และ 2542
-เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตให้ชาวต่างชาติเดินทางเข้าออกในประเทศไทยในฐานะนักท่องเที่ยว -ดูแลเกี่ยวกับการเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวของคนต่างด้าว
-การควบคุมพาหนะที่เข้า-ออกประเทศตามช่องทางด่านตรวจคนเข้าเมืองหรือท้องที่ที่กำหนด
2.2พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 ถึง 2548
-เป็นกฎหมายเก่าแก่ที่ใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2469 และได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมเรื่อยมาโดยลำดับ
-ในปัจจุบัน (พ.ศ. 2548) มีกฎหมายศุลกากรใช้บังคับอยู่รวม 20 ฉบับ
-เนื้อหาเกี่ยวข้องกับการนำของเข้า การส่งของออก การเสียภาษีตามพิกัดอัตราศุลกากรของนักท่องเที่ยว รวมทั้งระเบียบว่าด้วยการตรวจของและป้องกันการลักลอบหนีศุลกากร และข้อกำหนดเรื่องการนำเงินตราเข้าออกประเทศ
กฎหมายควบคุมดูแลและพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยวมีกฎหมายสำคัญ จำนวน 17 ฉบับ ได้แก่
1. พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504
-เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองดูแลรักษาและจัดการอุทยานแห่งชาติอันเป็นทรัพยากรการ ท่องเที่ยวประเภทธรรมชาติซึ่งต้องการให้มีการจัดการ การอนุรักษ์ และพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความยั่งยืน
-อยู่ภายใต้การบริหารจัดการของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2. พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 และ 2546-เกี่ยวข้องกับการสงวนและคุ้มครองโดยคณะกรรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ เพื่อไม่ให้สัตว์ป่าเหล่านั้นถูกทำร้ายและสูญพันธุ์ในบริเวณเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า และอุทยานแห่งชาติ
-กิจกรรมการดูนก ส่องสัตว์ในบริเวณดังกล่าว สำหรับนักท่องเที่ยวจึงมีความจำเป็นและเกี่ยวโยงกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
3. พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507, 2522 และ 2528
-เกี่ยวข้องกับการจัดการดูแลพื้นที่บริเวณที่เป็นป่าสงวน
-ซึ่งปัจจุบันสถานที่ท่องเที่ยวในหลายพื้นที่ยังคงอยู่ในอำนาจหน้าที่ของพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ
4. พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484, 2522 และ 2525
เกี่ยวกับการพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวประเภทธรรมชาติ
-ควบคุมการตัดไม้ ทำไม้ และของป่าหวงห้าม รวมทั้งควบคุมการนำไม้และของป่าเคลื่อนออกจากป่า
-เพื่อมิให้มีการตัดไม้และทำลายไม้โดยไม่จำเป็น และสงวนไม้มีค่าบางชนิดเอาไว้
-มีส่วนช่วยในการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมของป่าให้ยั่งยืน
5. พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510, 2522 และ 2534
-การสำรวจแร่หรือทำเหมือง ถ้าพบโบราณวัตถุหรือซากดึกดำบรรพ์หรือแร่พิเศษอันมีคุณค่าแก่การศึกษาในทางธรณีวิทยา จะต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเกี่ยวกับการเก็บได้ซึ่งวัตถุนั้น และผู้ถืออาชญาบัตรหรือผู้ถือประทานบัตรชั่วคราว หรือผู้ถือประทานบัตรจะต้องแจ้งต่อทรัพยากรธรณีประจำท้องถิ่น
-มีส่วนในการช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวเช่นกัน
6. ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2520
-การสำรวจและทำสำมะโนที่ดินเพื่อให้ทราบถึงความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ และความเหมาะสมแก่การทำประโยชน์ของรัฐและประชาชน
-กระทรวงมหาดไทยได้อาศัยมาตรา 9 (2) ออกประกาศลงวันที่ 21 พฤษภาคม 2523 มิให้มีการทำลาย หรือทำให้เสื่อมสภาพในบริเวณที่เขาหรือภูเขา และปริมณฑลรอบที่เขาหรือภูเขาสูง 40 เมตร บริเวณแม่น้ำลำคลอง รวมถึงที่ดินของรัฐที่มิได้มีบุคคลผู้ใดมีสิทธิครอบครองเฉพาะบริเวณที่ดินที่เป็นหิน ที่กรวด หรือที่ทราย
7. พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ.2485 เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรักษาและอนุรักษ์ประเพณีและศิลปวัฒนธรรม ความเป็นเอกลักษณ์ของชาติให้คงอยู่สืบไปซึ่งกิจกรรมประเพณีและศิลปวัฒนธรรมจัดเป็นสินค้าทางการท่องเที่ยวที่สำคัญ การดำเนินการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับศิลปวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวจึงจำเป็นต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ
8.พระราชบัญญัติรักษาคลอง รศ. 121เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลและจัดการกับพื้นที่บริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ให้อยู่ในสภาพดีและเหมาะสม ปัจจุบันบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในกรุงเทพมหานคร ดังนั้นการดำเนินการใดๆในพื้นที่แห่งนี้ต้องถือปฏิบัติตามพระราชบัญญัติเกาะรัตนโกสินทร์
9. พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พ.ศ.2535
เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขึ้นทะเบียน การกำกับดูแลโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และป้องกันการค้าโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุที่ผิดกฎหมาย การจัดตั้งอุทยานประวัติศาสตร์
-ระบุให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเป็นที่เก็บรักษาโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุอันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินให้เป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาด และมีการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด
-เนื่องจากพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติจัดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางศิลปวัฒนธรรมการดำเนินการใดๆจึงต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติฉบับนี้อย่างเคร่งครัด
10. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535
การควบคุมมลพิษ เช่น มลพิษทางอากาศ เสียง ทางน้ำ ของเสียอันตรายฯลฯ
การส่งเสริมรักษาและกำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม เช่น มาตรฐานคุณภาพน้ำในแม่น้ำ คลอง ชายฝั่งทะเล มาตรฐานคุณภาพอากาศ มาตรฐานระดับเสียงและความสั่นสะเทือน ฯลฯ
การกำหนดมาตรฐาน ควบคุมการระบายน้ำทิ้งจาก โรงแรม อาคารชุด หอพักฯลฯ ในแหล่งท่องเที่ยวและควบคุมมลพิษจากแหล่งที่อื่นที่อาจจะส่งผลต่อแหล่งท่องเที่ยวที่อยู่ใกล้เคียง
11. พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และ 2535
ควบคุม ดูแลกิจกรรมต่างๆ ของคณะสงฆ์ ซึ่งรวมถึงที่ดินของวัดอันเป็นที่ตั้งของทรัพยากรการท่องเที่ยวประเภทศาสนสถานและโบราณสถาน
ห้ามแย่งการครอบครองหรือครอบครองปรปักษ์ที่วัด (คือ ที่ซึ่งตั้งวัดตลอดจนเขตของวัดนั้น) หรือที่ธรณีสงฆ์ (คือ ที่ซึ่งเป็นสมบัติของวัด) นั้น และไม่ให้ที่วัดหรือที่ธรณีสงฆ์ตกอยู่ในข่ายของการบังคับคดี คือ ใครจะยึดไปขายทอดตลาดชำระหนี้ไม่ได้ เท่ากับทำให้วัดซึ่งเป็นที่ตั้งของศาสนสถานและโบราณสถานต่างๆ ยังคงดำรงอยู่ตลอดไป
ห้ามมิให้เจ้าอาวาสหรือผู้แทนโอนที่ดินไปให้บุคคลใดได้ตามใจชอบ
วัดและวัดร้างที่ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานยังต้องอยู่ในความควบคุมของพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2535 การก่อสร้างอาคารต้องได้รับการอนุญาตจาก...............
12. พระราชบัญญัติสุสานและฌาปนสถาน พ.ศ. 2528
กำหนดให้มีการเผาศพ หรือฝังศพในสุสานและฌาปนสถานสาธารณะหรือเอกชนที่ได้มีผู้ดำเนินการอนุญาตจัดตั้งเท่านั้น จะไปเผาศพหรือฝังศพที่อื่นไม่ได้ เช่น ในที่ป่าไม้ ที่ภูเขา ที่น้ำตก ถ้ำ ฯลฯ ที่มีลักษณะเป็นทรัพยากรการท่องเที่ยว เพราะจะทำให้ภูมิทัศน์ของพื้นที่เหล่านั้นเสียไป รวมไปถึงการก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับด้านสาธารณสุข คือ อาจเป็นอันตรายในทางอนามัยแก่ประชาชนทั่วไปได้
ห้ามมิให้เปลี่ยนแปลง ต่อเติมสุสานและฌาปนสถานสาธารณะหรือของเอกชน เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อห้ามเช่นนี้มีประโยชน์ต่อทรัพยากรการท่องเที่ยวที่เป็นสุสาน เช่น สุสานทหารสัมพันธมิตร จ.กาญจนบุรี สุสานสงครามช่องไก่ จ.กาญจนบุรี หรือสุสานเจ้าเมืองระนอง จ.ระนอง
13. พระราชบัญญัติว่าด้วยลักษณะฐานะของวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิกในกรุงสยามตามกฎหมาย ร.ศ. 128 กำหนดหลักเกณฑ์ในการที่จะให้มิสซังกรุงเทพ และมิสซังหนองแสง (นครพนม) ถือที่ดินในประเทศไทยเพื่อก่อตั้งวัดบาทหลวงและสถานที่พักสอนศาสนา
วัดและสิ่งก่อสร้างทางศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกบางแห่งสร้างแบบสถาปัตยกรรมของยุโรป เช่น วัดอัสสัมชัญที่บางรัก หรือโบสถ์คาทอลิกในโรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์ใน จ.จันทบุรี สร้างขึ้นแบบสถาปัตยกรรมกอธิค เป็นต้น
เป็นทรัพยากรการท่องเที่ยวอีกประเภทหนึ่งที่นักท่องเที่ยวต้องการจะดูและศึกษาถึงการก่อสร้าง ประวัติความเป็นมา และความสวยงามของศาสนสถานนั้นๆ
14. พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 และ 2528
ควบคุม และดูแลทางด้านการประมง อนุรักษ์ที่จับสัตว์น้ำ เช่น กว๊านพะเยา บึงบรเพ็ด ทะเลสาบสงขลา หรือท่าน้ำหน้าวัดต่างๆ ที่มีปลาอาศัยอยู่ เช่น วัดไร่ขิง จ.นครปฐม วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี เป็นต้น
ช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยว เช่น ห้ามมิให้บุคคลใดทำการประมงหรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่รักษาพืชพันธุ์ (คือที่จับสัตว์น้ำซึ่งอยู่ในบริเวณพระอารามหรือปูชนียสถาน หรือติดกับเขตสถานที่ดังกล่าว บริเวณประตูระบายน้ำ ฝาย หรือทำนบ) ห้ามเปลี่ยนแปลงสภาพของที่จับสัตว์น้ำหรือปลูกสร้างสิ่งใดหรือปลูกพืชพันธุ์ไม้ใดๆ ลงในที่จับสัตว์น้ำ ห้ามใช้วัตถุระเบิดหรือห้ามก่อภาวะมลพิษในแหล่งน้ำ เป็นต้น
15. พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2512, 2522 และ 2535
เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการการสร้างโรงงานและการจัดการโรงงาน เพื่อลดการส่งผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมต่อแหล่งท่องเที่ยว และในบริเวณใกล้เคียงแหล่งท่องเที่ยว
โรงงานสุรา..............................................................
16. พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบของชานเมือง พ.ศ.2535
เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความสะอาดในพื้นที่ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตกรุงเทพฯ พัทยา และเทศบาลซึ่งพื้นที่ต่างๆ เหล่านี้อาจรวมถึงบริเวณแหล่งท่องเที่ยวด้วย
17. พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ.2518, 2525 และ 2535 และพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522, 2535 และ 2543
-เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างอาคารบริเวณแหล่งท่องเที่ยว การจัดการด้านผังเมือง การกำหนดเขตต่างๆในแหล่งท่องเที่ยว

บทที่9 ผลกระทบของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว





ปัจุบันการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้เป็นไปอย่างรวดเร็วจะเห็นได้ว่าหลายประเทศพยายาม นำทรัพยากรธรรมชาติตลอดจนทรัพยากรทางประวัติศาสตร์ ทำให้เดรายได้เพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม ปัญหาต่างๆจากากรท่องเที่ยวเริ่มเกิดขึ้นอาทิ เช่น การเพิ่มปริมาณนักท่องเที่ยวและธุรกิจท่องเที่ยวทำให้ประชาชนไปรวมอยู่กันบริเวณแหล่งท่องเที่ยว มีสิ่งกิอสร้างต่างๆ การใช้ทรัพยากรมีมากเกินกว่าสถานที่แห่งนั้นจะรับได้
ผลกระทบจากท่องเที่ยวต่อเศรษฐกิจ
ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากนักท่องเที่ยวย่อมกระจายไปสู่ธุรกิจต่าง ๆ มากน้อยแตกต่างกัน รายได้ที่เกิดจากนักท่องเที่ยวออกมาในรูปแบบของเม็ดเงินเด่นชัด เป็นทียอมรับว่าเมื่อนักท่องเที่ยวเดินทางไปเยือนสถานที่ใดก็ตามจะต้องมีการจ่ายเพื่อเป็นค่าบริการ
ด้านบวก
ช่วยทำให้เกิดรายได้แก่ท้องถิ่นภายในประเทศ (Local Income)
ช่วยทำให้เกิดรายได้ต่อรัฐบาล (Government Receipt)
ช่วยให้เกิดการจ้างงาน (Employment)
ช่วยให้เกิดอาชีพใหม่ (Creating new job)
ช่วยให้เกิดรายรับเงินตราต่างประเทศ (Foreign Exchange Earning)
ช่วยให้เกิดภาวะดุลชำระเงิน (Balance of Payment)
ด้านลบ
เราอาจเห็นว่าผลกระทบที่กล่าวมาข้างต้นล้วนเป็นผลกระทบทางเศรษฐกิจในแง่บวกทั้งสิ้น ถ้าเราพิจารณาในแง่ลบแล้วจะเกิดขึ้นเช่นเดียวกัน
ค่าครองชีพของคนในพื้นที่เพิ่มสูงขึ้น (Increase of Living Expenses)
ราคาที่ดินแพงขึ้น
มีค่าใช้จ่ายต่างๆที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศเพื่อตอบสนองความต้องการนักท่องเที่ยวต่างชาติ
ทำให้สูญเสียรายได้ออกนอกประเทศ
รายได้จากธุรกิจท่องเที่ยวต่างๆ เป็นไปตามฤดูกาล
ผลกระทบจากการท่องเที่ยวต่อสังคม
เมื่อมีการพัฒนาการท่องเที่ยวไปยังแหล่งใดก็ตาม ย่อมมีนักท่องเที่ยวเข้าไปท่องเที่ยวในสถานที่นั้น ๆ ซึ่งมีการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างนักท่องเที่ยวและคนในท้องถิ่น ผลที่ตามมาก็มีทั้งด้านดีและด้านลบ แม้ว่าผลกระทบด้านนี้จะเป็นเรื่องที่ยากเพราะอาจมีลักษณะเป็นนามธรรม
ด้านบวก
เป็นการพักผ่อนหย่อนใจของบุคคล ลดความเครียด
ช่วยให้เกิดสันติภาพแห่งมวลมนุษย์และช่วยกระตุ้นความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคลในชาติต่างๆ
ช่วยให้ประชาชนได้เห็นถึงความสำคัญของศิลปวัฒนธรรมประเพณีของแต่ละท้องถิ่น
มาตรฐานการครองชีพดีขึ้น
คนในท้องถิ่นได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น จากสาธารณูปโภคและสาธารณูปการในแหล่งท่องเที่ยวและบริเวณใกล้เคียง
ด้านลบ
ความรู้สึกที่ไม่ดีต่อคนในท้องถิ่นจากนักท่องเที่ยว
โครงสร้างครอบครัวเปลี่ยนแปลง
การเลือนหายของอาชีพดั้งเดิมในท้องถิ่น
ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรม
ปัญหาโสเภณีและCommercial sex
การมีค่านิยมผิดๆ จากการเลียนแบบนักท่องเที่ยว
ปัญหาการบิดเบือนหลอกลวงเอารัดเอาเปรียบนักท่องเที่ยว
ปัญหาความไม่เข้าใจและการขัดแย้งระหว่างคนท้องถิ่นกับนักท่องเที่ยว
ช่วยให้เกิดการก่อสร้างสิ่งดึงดูดใจด้านการพักผ่อนในพื้นที่
ปัญหาสังคมต่างๆ อาทิ ยาเสพติด โรคเอดส์
การท่องเที่ยวช่วยให้เกิดสันติภาพแห่งมวลมนุษย์
“การท่องเที่ยวเป็นหนทางไปสู่สันติภาพ”
(Tourism is a passport to peace)
ช่วยให้สภาพแวดล้อมของท้องถิ่นดีขึ้น
ช่วยเสริมอาชีพให้คนในท้องถิ่น การกระจายรายได้ไปสู่ท้องถิ่น การจ้างงาน ทำให้คุณภาพชีวิตคนดีขึ้น
การท่องเที่ยวจะช่วยลดปัญหาการอพยพเข้าไปทำงาน
ในเมืองหลวง
ผลกระทบจากการท่องเที่ยวต่อวัฒนธรรม
เราไม่สามารถปฏิเสธว่าสังคมและวัฒนธรรมเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ด้วยปัจจัยต่างๆทำให้เกิดขึ้นโดยฌพาะอย่างยิ่งการติดต่อสัมพันธ์กันปัจจุบันโลกกลายเป็นยุคโลกาภิวัฒน์การเปลี่ยนแปลงเป็นไปอย่างรวดเร็วกว้างไกล
ด้านบวก
เกิดงานเทศกาลเกี่ยวกับการท่องเที่ยว วัฒนธรรมถูกรื้อฟื้นหรือไม่เลือนจางหายไป
มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนาและนักท่องเที่ยวนิยมมากขึ้น
ช่วยเผยแพร่National Identity(............ลักษณ์ประเทศ)
ผลกระทบอื่นๆ
ด้านลบ
คุณค่าของงานศิลปะลดลง
วัฒนธรรมประเพณีที่ถูกนำเสนอขายในรูปแบบของสินค้าเน้นตอบสนองนักท่องเที่ยว
วัฒนธรรมของนักท่องเที่ยวมีบทบาทในการรับวัฒนธรรมใหม่ (Acculturate) ของคนในท้องถิ่น
เกิดภาวะตระหนกและสับสนทางวัฒนธรรม (Culture Shock)
การยอมรับพฤติกรรมและเลียนแบบพฤติกรรมนั้น (Demonstration Effect)
- คนพื้นถิ่นมีโอกาสพบปะกับนักท่องเที่ยว และปรับตัวให้เข้ากับสิ่งที่เข้ามา เช่น ชาวเขาย่อมแต่งชุดชาวเขาดั้งเดิม แต่พอนักท่องเที่ยวเข้ามาในหมู่บ้านเพื่อมาเยี่ยมชมมากขึ้น เห็นได้ชัดเจนว่าชาวเขาบางส่วนสวมกางเกงยีนส์และเสื้อยืดแทนที่จะใส่ชุดชาวเขา
- ผู้หญิงในหมู่บ้านนุ่งผ้าซิ่นทอเอง ต่อมาความเจริญมีขึ้นเรื่อย ๆ ก็กลายเป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูปแทน

บทที่8 ธุรกิจอื่นๆและองค์ประกอบเสริมในอุสาหกรรมการท่องเที่ยว

นอกจากธุรกิจหลักซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการดำเนินธุรกิจการท่องเที่ยวแล้วยังมีธุรกิจอื่นๆดำนินการเพื่อตอบสนองความต้องการบริการด้านต่าง ๆ แก่ นักท่องเที่ยวเช่น การบริการด้านอาหารและเครื่องดื่ม สถานบันเทิง ร้านขายของที่ระลึก ศุนย์ข้อมูลข่าวสารการท่องเที่ยวและอื่น ๆ
ธุรกิจบริการอาหารและเครื่องดื่ม
เราสามารถแบ่งประเภทของธุรกิจอาหารการบริการและเครื่องดื่มได้เป็น 7 ประเภทใหญ่ๆดังนี้
1. ธุรกิจอาหารจานด่วน
เป็นธุรกิจอาหารที่กำลังได้รับความนิยมและขยายตัวอย่างรวดเร็ว แต่ลูกค้าสามารถเลือกที่จะนั่ง
รับประทานในร้านหรือซื้อออกไปก็ได้และราคาอาหารค่อนข้างต่ำ ร้านอาหารจานด่วนมีการดำเนินการในรูปแบบของการรับสิทธิ
2. ธุรกิจอาหารสำเร็จรูปเดลี่
เป็นธุรกิจที่ผสมผสานการให้บริการอาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง เนย แซนวิช สลัด และอาหารสำเร็จรูป ประเภทอื่นๆ ปัจจุบันร้านอาหารประเภทนี้นิยมมาก
3. ธุรกิจอาหารบุฟเฟ่ต์
เป็นธุรกิจอาหารแบบบริการตนเอง ซึ่งปกติจะบริการเครื่องดื่มและจะให้บริการที่โต๊ะลูกค้าโดยตรง ทุกอย่างคุณสามารถกินได้ และตั้งราคาเดียวและราคาไม่สูงมากนัก
4. ธุรกิจค๊อฟฟี่ช๊อพ
เน้นการบริการอาหารแบบรวดเร็ว ลูกค้าหมุนเวียนเข้าไปมารับประทานอาหารโดยใช้เวลาน้อย ไม่
เน้นความหรูหราและราคาค่อนข้างต่ำร้านอาหารประเภทนี้ส่วนใหญ่จะขายดีที่สุดช่วงอาหารเที่ยงรือช่วงกาแฟบ่าย
5. ธุรกิจคาเฟทีเรีย
เป็นธุรกิจอาหารแบบบริการตนเอง โดยส่วนใหญ่ราการอาหารจะค่อยข้างจำกัดกว่าภัตตาคารทั่ว
ๆ ไป จำนวนมากที่ต้องการความรวดเร็วในช่วงธุรกิจหนาแน่น ดังนั้นการฝึกฝนให้พนักงานบริการอย่างรวดเร็วจึงค่อนข้างจำเป็น
6. ธุรกิจอาหารกูร์เมต์
เป็นธุรกิจที่เน้นการให้บริการในระดับสูง ทั้งในด้านคุณภาพอาหาร โดยเน้นกลุ่มลูกค้าที่ต้องการ
มาตรฐานการบริการในระดับสูง และพร้อมจ่ายเงินเพื่อซื้อการบริการที่พึงพอใจ จึงทำให้ต้องลงทุนสูงกว่าภัตตาคารหรือร้านอาหารประเภทอื่นๆเพื่อชื่อเสียงของร้านและดึงดูดลูกค้าให้กลับมาใช้บริการอย่างสม่ำเสมอ
7. ธุรกิจอาหารเฉพาะกลุ่มเชื้อชาติ
เป็นธุรกิจที่ให้บริการอาหารเฉพาะรายการอาหารประจำท้องถิ่นหรือประจำชาติ พนักงานเน้น
ลักษณะประจำชาติหรือลักษณะท้องถิ่นนั้นๆ
อาหารไทย
อาหารไทยถือเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมและมีชื่อเสียงไปทั่วโลกอาจเป็นเพราะรสชาติที่กลมกล่อมและความสวยงามประณีตเป็นที่แน่นอนว่าเมื่อนักท่องเที่ยวเมืองไทยส่วนใหญ่ก็มักต้องการลิ้มรสอาหารไทยแบบดั่งเดิมดูสักครั้ง
อาหารไทยภาคเหนือ
ภูมิประเทศทางภาคเหนือของไทยอุดมไปด้วยป่าไม้และภูเขาสูงแวดล้อมไปด้วยพืชพรรณธรรมชาตินานาชนิด ภาคเหนือยังมีคนไทยภูเขาหลายเผ่าอาศัยอยู่จึงมีความหลากหลายทางวัมนธรรม และยังคงใกล้ชิดธรรมชาติอยู่มาก ซึ่งผลให้อาหารทางเหนือยังใช้พืชตามป่าเขาและพืชที่ขึ้นเองตามธรรมชาติในการปรุงอาหารเป็นส่วนใหญ่ การรับประทานอาหารแบบขัยโตก อาหารทางภาคเหนือไม่นิยมใส่น้ำตาลเพราะความหวานจะมาจากผัก เช่นการนำผักมาผัดหรือต้มให้นุ่มก่อนรับประทาน เช่นแคปหมูใช้รับประทานคู่กับขนมจีนน้ำเงี้ยวก่อนรับประทาน
อาหารไทยภาคใต้
ภูมิประเทศของภาคใต้เป็นคาบสมุทรที่ยื่นลงไปในทะเล อาชีพของชาวใต้ก็คือชาวประมงอาหารหลักจึงเป็นอาหารทะเล จำพวกกุ้ง หอย ปู ปลา จะมีกลิ่นคาวจัดใช้เครื่องเทศและขมิ้นเพื่อดับกลิ่นคาว อาหารใต้หลายชนิดที่นิยมรับประทานกับผักเพื่อลดความเผ็ดร้อน ข้าวยำปักษ์ใต้ แกงไตปลา แกงเหลือง เป็นต้น
อาหารไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ตั่งอยู่บนพื้นที่ที่ราบสูง กักเก็บน้ำได้ไม่ดีจึงแห้งแล้งในหน้าร้อน นิยมบริโภคเนื้อสัตว์เหล่านี้ โดยทั่วไปคนอีสานชอบอาหารรสเค็ม เผ็ด เปรี้ยว จึงมีการถนอมอาหาร เช่นปลาร้า เนื้อเค็ม ไส้กรอกหมู เป็นต้น
การดำเนินงานด้านธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม
ปัจจุบันผู้ประกอบการร้านอาหารและเครื่องดื่มนิยมหันไปทำธุรกิจในลักษณะที่เป็นกลุ่มธุรกิจหรือตามที่ วินิจ วีรยางกูรได้สรุปไว้ดังนี้
1) มีการจำกัดประเภทอาหารให้แคบลง
2) ต้นทุนในการดำเนินงานต่ำ
3) มีการฝึกพนักงานอย่างดี ทำให้พนักงานมีประสิทธิภาพสูง
4) ภาชนะที่ใส่อาหารส่วนใหญ่เป็นประเภทรับประทานแล้วทิ้งเลย
5) มีอาหารน้อยชนิด การปรุงอาหารไม่ซับซ้อน
ลักษณะอาหารที่โรงแรมจัดไว้ส่วนใหญ่มักเป็นอาหารตะวันตก
1) อาหารเช้า คืออาหารที่รับประทานตั้งแต่8.00-9.00เป็นเป็น2ประเภทคือ
1.1อาหารเช้าแบบยุโรป เป็นอาหารเช้าที่ประกอบไปด้วยน้ำผลไม้ ขนมปัง แยม หรือเนยหรือกาแฟเท่านั้น
1.2อาหารเช้าแบบอเมริกัน ประกอบด้วยน้ำผลไม้ คอร์นแฟลก ขนมปัง ไข่ดาว แฮม เบคอน แล้วตามด้วยชา กาแฟ
2) อาหารก่อนกลางวัน คือรับประทานช่วงเวลาระหว่างอาหารเช้ากับมื้อเที่ยงตั่งแต่9.30-11.30
3) อาหารกลางวัน Lunch or Luncheon รับประทานในช่วง 11.30-14.00 น.เป็นอาหารที่ไม่หนักจนเกินไป ใช้เนื้อสัตว์ที่ย่อยง่าย เช่น ปลา หมู ผักต่างๆ อาจเป็นแบบ A La Carte คือรายการที่ลูกค้าสามารถสั่งได้ตามใจชอบจากรายการที่มี หรือ Table d ’Hotel คือแบบรายการอาหารชุด แบ่งเป็น -อาหารจานเดียว (One Course)
-อาหารกลางวันประเภทสองจาน (Two Courses)
-อาหารกลางวันประเภทสามจาน (Three Courses)
-อาหารกลางวันแบบบุฟเฟต์ (Buffet Lunch)
4) อาหารว่างหรืออาหารน้ำชา (Afternoon Tea)
ปกติรับประทานเวลา 15.00-17.00 น. ชากาแฟ เค้ก หรือ ผลไม้
5) อาหารเย็น ( Dinner)เริ่มตั้งแต่เวลา 19.00 น. เป็นอาหารมื้อที่หนักที่สุดของวัน ประกอบด้วยอาหารชุดต่าง ๆ ดังนี้
-อาหารเรียกน้ำย่อย (Appetizer)
-ซุป (Soup)
-อาหารนำจานหลัก (Entrees) ประเภทอาหารทะเล
-อาหารหลัก (Main Course) ได้แก่อาหารประเภท เนื้อสัตว์ แป้ง
-ของหวาน (Dessert)
-ชาหรือกาแฟ (Tea or Coffee)
6) อาหารมื้อดึก (Supper)เป็นอาหารเบาๆ ซึ่งรับประทานหลังมื้อเย็นหรือหลังอาหารหนัก
การจัดการและการตลาด (Management and Marketing
เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ต้องอาศัยความชำนาญและประสบการณ์ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าธุรกิจอื่นๆ ประกอบกับภาวการณ์แข่งขันมีค่อนข้างสูง ตลาดและส่วนผสมทางการตลาดในทุกๆ ด้านดังนี้
1. ด้านผลิตภัณฑ์ (product) ต้องมุ่งเน้นที่คุณภาพของอาหารและบริการ ต้องมีคุณค่าทางโภชนาการและถูกหลักอนามัย
2. ด้านราคา (price) ต้องเป็นราคาที่เหมาะสมกับชนิดและประเภทของอาหาร โดยต้องคำนึงถึงคุณภาพ ต้นทุน การให้บริการ ต้องหมั่นสำรวจตลาด และคู่แข่งเสมอ
3. ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (place) ต้องรู้ว่าจะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ด้วยวิธีใด อาทิสถานที่ตั้ง บริการส่งถึงที่ เป็นต้น
4. การส่งเสริมการขาย (promotion)ควรเลือกสื่อและโฆษณาที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด รวมทั้งการประสานงานกับบริษัทนำเที่ยว หรืออาจมีการรวมกลุ่มเป็นสมาคม อาทิ สมาคมภัตตาคาร (restaurant association)
ธุรกิจจำหน่ายสินค้าและสินค้าที่ระลึกShopping and Souvenir Business
ธุรกิจจำหน่ายสินค้า คือ การประกอบธุรกิจขายปลีก เพื่อจำหน่ายสินค้าเฉพาะอย่างหรือหลายอย่างแก่ผู้บริโภค ซึ่งหมายถึงบุคคลทั่วไปรวมถึงนักท่องเที่ยว
ประเภทของธุรกิจจำหน่ายสินค้าและบริการ
ห้างสรรพสินค้า ( Department Store) หมายถึงกิจการขายปลีกขนาดใหญ่ที่รวมสินค้าหลายอย่างเข้ามาไว้ภายในบริเวณเดียวกัน โดยแยกตามแผนก เพื่อเป็นการประหยัดเวลาของลูกค้า
ห้างสรรพสินค้ายังมีบทบาทสำคัญในการดึงดูดนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศ และได้ทำให้หลายๆ ประเทศพยายามพัฒนาภาพลักษณ์ให้เป็นสวรรค์ของการซื้อสินค้า
ศูนย์การค้า (Shopping Centers/Malls) คือการขายปลีกขนาดใหญ่ที่รวมร้านขายปลีกรวมทั้งห้างสรรพสินค้าเข้ามาอยู่ในอาคารเดียวกัน ตลอดจนบริการที่จอดรถตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ อาทิ โรงภาพยนตร์ ธนาคาร ภัตตาคาร
ร้านค้าปลอดอากร (Duty-free shop)และร้านปลอดภาษี (Tax-free shop) เป็นร้านค้าปลีกที่ขายสินค้าให้แก่นักท่องเที่ยวระหว่างประเทศเท่านั้น โดยสินค้าในร้านปลอดอากรนั้น มักเป็นสินค้าปลอดอากรที่นำเข้าจากต่างประเทศราคาสูง
ความสำคัญของธุรกิจจำหน่ายสินค้า
I. เป็นแหล่งกระจายสินค้าภายในประเทศออกไปยังต่างประเทศ ทั้งยังเป็นการช่วยเผยแพร่ชื่อเสียง หรือโฆษณาแหล่งท่องเที่ยว อาทิเช่น ผ้าไหม......... น้ำหอม............ นาฬิกา........
- กิจกรรมการซื้อสินค้าเป็นการสร้างความเพลิดเพลินให้แก่นักท่องเที่ยว
- ช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมท้องถิ่น
- ก่อให้เกิดการจ้างงานของคนในท้องถิ่น
ธุรกิจสินค้าที่ระลึก
คือ การประกอบธุรกิจและจำหน่ายสินค้าที่นักท่องเที่ยวซื้อและนำกลับไปยังภูมิลำเนาเดิมของตน เพื่อเป็นของระลึก ของฝาก หรือแม้แต่เพื่อใช้สอยในชีวิตประจำวัน สินค้าที่ระลึกมักถูกพัฒนาจากศิลปหัตถกรรมของแต่ละท้องถิ่น ที่แสดงถึงเอกลักษณ์ ความเป็นอยู่ โดยใช้วัสดุของท้องถิ่นในการผลิตและใช้แรงงานภายในท้องถิ่น
ลักษณะสำคัญของสินค้าที่ระลึก
ก. เป็นสินค้าที่หายากและราคาแพง มีแหล่งผลิตเฉพาะที่
ข. เป็นสินค้าที่มีราคาถูกกว่าภูมิลำเนาของนักท่องเที่ยว
ค. เป็นสินค้าที่ออกแบบผลิตภัณฑ์แปลกและมีประโยชน์ใช้สอย
ง. เป็นสินค้าที่มีรูปร่าง ขนาด น้ำหนัก เหมาะสมต่อการขนส่ง ไม่เปราะบางหรือชำรุดง่าย
จ. เป็นสินค้าที่ใช้วัสดุและแรงงานในท้องถิ่น เป็นสินค้าที่นำวัสดุเหลือใช้ไร้ค่ามาแปรรูป
ฉ. เป็นสินค้าที่มีการแสดงขั้นตอนการผลิตให้นักท่องเที่ยวเห็นหรือทดลองทำ
ช. เป็นสินค้าที่ควรหาซื้อได้ง่าย
ซ. เป็นสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นนั้นๆ เมื่อเอ่ยถึงทุกคนสามารถเดาที่มาได้
แบ่งตามคุณค่าแห่งการนำไปใช้
- ประเภทบริโภค - ประเภทประดับตกแต่ง
- ประเภทใช้สอย - ประเภทวัตถุทางศิลปะ
ความสำคัญของธุรกิจจำหน่ายสินค้าที่ระลึก
ทางสังคมและวัฒนธรรม
-สร้างอาชีพใหม่ๆ ให้กับคนในสังคม และการใช้เวลาว่างของประชาชนให้เกิดคุณประโยชน์
-ลดปัญหาสังคม และลดปัญหาการย้ายถิ่นฐาน
-การรู้จักอนุรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่น และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
ทางเศรษฐกิจ
-สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนและประเทศ
-สร้างชื่อเสียงหรือเอกลักษณ์ของประเทศไปสู่โลก
ทางระบบการท่องเที่ยว
-ทำให้เกิดความสมบูรณ์ทางการท่องเที่ยว เป็นการเพิ่มความสุนทรีย์ ในการท่องเที่ยว ทำให้เกิดการกลับมาเที่ยวอีกครั้งหนึ่ง
-ทำให้นักท่องเที่ยวเกิดความภูมิใจ หรือเป็นการสร้างการยอมรับทางสังคม เป็นการแสดงออกถึงฐานะทางเศรษฐกิจ
ธุรกิจนันทนาการ (Recreation Business)
หมายถึง การประกอบธุรกิจการให้บริการเพื่อความบันเทิงและเพลิดเพลินสำหรับคนเดินทางหรือนักท่องเที่ยว
ธุรกิจนันทนาการประกอบด้วย
ธุรกิจสวนสนุก แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
สวนสนุก (Amusement Park) เป็นสถานที่ที่สร้างเพื่อให้บริการด้านความบันเทิง สนุกสนานเพลิดเพลิน ประกอบด้วย เครื่องเล่นเกม การละเล่นต่างๆ ของคนในท้องถิ่น และนักท่องเที่ยว
สวนสนุกรูปแบบเฉพาะ (Theme Park) เป็นสวนสนุกที่มีสิ่งดึงดูดใจและมีแนวคิดทางการตลาดที่มุ่งเน้นกลุ่มลูกค้าที่ชัดเจน
ธุรกิจบันเทิง เพื่อการท่องเที่ยว หมายถึง สถานบันเทิงยามค่ำคืนและการจัดการแสดงบนเวที (Performing art)
ธุรกิจการกีฬาเพื่อการท่องเที่ยว
ธุรกิจกีฬาปกติ เป็นการจัดให้บริการสถานที่ที่นักท่องเที่ยวสามารถเล่นกีฬาได้ตามแหล่งท่องเที่ยว
ธุรกิจกีฬาตามเทศกาล เป็นการประกอบธุรกิจการจัดแข่งขันกีฬาตามเทศกาล
บทที่7 ตัวแทนจำหน่ายการท่องเที่ยว

แทรเวล เอเจนซี่ (travel agency)
แทรเวลเอเจนซี่ หมายถึงธุรกิจขายปลีกที่ได้รับอนุมัติให้ขายผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวแทนผู้ประกอบการธุรกิจ เช่น สายการบิน สายการเดินเรือ บริษัทรถไฟ และสถานที่พักแรม
บทบาทหน้าที่ของแทรเวลเอเจนซี่
1) จัดหาราคาหรืออัตราสินค้าทางการท่องเที่ยว
2) ทำการจอง
3) รับชำระเงิน
4) ทำการส่งบัตรโดยสารหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง
5) ช่วยเหลือลูกค้าในการซื้อสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวอื่นๆ
6) ช่วยดำเนินการในการซื้อบัตรโดยสาร
7) ออกบัตรโดยสารเครื่องบินและเอกสารอื่นๆ
1. จัดหาราคาหรืออัตราสินค้าทางการท่องเที่ยว
แทรเวลเอเจนซี่มีหน้าที่จัดหาราคาต่างๆเช่นค่าบัตรโดยสารเครื่องบิน ราคาห้องพักของโรงแรม ราคารถเช่า ราคาทัวร์แบบเหมาจ่าย ราคาค่ารถไฟหรือรถประจำทาง ค่าประกันภัยเป็นต้น
2. ทำการจอง
หน้าที่ลำดับที่สองคือ ทำการจอง โดยทั่วไปการจองบัตรโดยสารเครื่องบินจะเกี่ยวข้องกับการวางแผนเส้นทางการบินและการต่อเครื่องบินจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ในการจองบัตรโดยสารเครื่องบินแทรเวลเอเจนซี่ต้องการข้อมูลต่าง ๆ ดังนี้
2.1จำนวนผู้โดยสารพร้อมชื่อและนามสกุล
2.2เบอร์โทรศัพท์
2.3ที่อยู่ทางไปรษณีย์
2.4ชื่อผู้จอง
2.5ข้อมูลความต้องการบริการพิเศษ
2.6วันที่ออกบัตรโดยสาร
2.7รูปแบบการชำระเงิน
3. รับชำระเงิน
แทรเวลเอเจนซี่ ที่ได้รับการรองรับจาก arc จะได้รับอนุญาติให้รับชำระเงินค่าบัตรโดยสารได้ทุก ๆ สัปดาห์ แทรเวลเอเจนซี่จะต้องส่งรายงานให้กับ arc เกี่ยวกับจำนวนบัตรโดยสารที่ขายและจำนวนเงินที่ได้รับจากการขายรายได้จากการขายบัตรโดยสารจะต้องนำเข้าบัญชีพิเศษที่เรียกว่า settlement account
1.ทำการส่งบัตรโดยสารหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง
แทรเวลเอเจนซี่มีหน้าที่จัดส่งบัตรโดยสารหรือเอกสารเกี่ยวกับการเดินทางอย่างไรก็ตามโดยทั่วไปลูกค้าส่วนใหญ่มักจะไปรับบัตรโดยสารเอง
2.ช่วยเหลือลูกค้าในการซื้อสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวอื่นๆ
แทรเวลเอเจนซี่ส่วนใหญ่มีรายได้จากการขายสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวอื่นๆนอกเหนือจากการขายบัตรโดยสารเครื่องบิน สินค้าและบริการเหล่านั้นได้แก่
• ทัวร์แบบเหมาจ่าย(package tours)
• เรือสำราญ(cruises)
• โรงแรม(hotel)
• ค่าเช่ารถ(car rentals)
• ค่าทัศนาจร(sight-seeing excursions)
• ค่าโดยสารรถประจำทาง(bus transportation)
• ค่าประกันภัยในการเดินทาง(travel insurance)
• ค่าโดยสารรถไฟ(rail transportation)
1.ช่วยดำเนินการในการซื้อบัตรโดยสาร
แทรเวลเอเจนซี่ ที่ไม่ได้เน้นการขายบัตรโดยสารเครื่องบินอาจไม่สามรถออกบัตรโดยสารเอง แต่จะซื้อบัตรโดยสารจากเอเจนซี่อื่น หรือจากสายการบิน
2.ออกบัตรโดยสารเครื่องบินและเอกสารอื่นๆ
ในสหรัฐอเมริกาการจะขายบัตรโดยสารเครื่องบินได้นั้นแทรเวลเอเจนซี่จะได้รับการรับรองจาก arc และการบัตรโดยสารเครื่องบินระหว่างประเทศจะต้องได้รับการรับรองจากIATAในการที่จะได้รับการรับรองเอเจนซี่ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
1) มีผู้จัดการที่ทำงานเต็มเวลา ซึ่งมีคุณสมบัติตามที่arcต้องการ
2) จะต้องมีพนักงานอย่างน้อย 1 คน ที่มีประสบการณ์ในการออกบัตรโดยสารมาแล้วอย่างน้อย 1 ปีในช่วงเวลา3ปีที่ผ่านมา
3) จะต้องมีเงินประกัน หรือจดหมายรับรองสถานภาพการเงินซึ่งตรงตามเงื่อนไขของARC
ประโยชน์ของการใช้บริการของแทรเวลเอเจนซี่
• แทรเวลเอเจนซี่มีความชำนาญในการหาข้อมูลและการวางแผนท่องเที่ยว
• แทรเวลเอเจนซี่สามารถหาข้อเสนอหรือราคาที่ดีที่สุด
• แทรเวลเอเจนซี่ช่วยประหยัดเวลาและความลำบาก
• แทรเวลเอเจนซี่ช่วยแก้ไขปัญหาได้เมื่อเกิดข้อผิดพลาดหรือปัญหา
• แทรเวลเอเจนซี่รู้จักผู้ประกอบธุรกิจมากกว่า
• แทรเวลเอเจนซี่รู้จักแหล่งท่องเที่ยวดีกว่า
ประเภทของแทรเวลเอเจนซี่
เมื่อประมาณ3ทศวรรษที่ผ่านมา แทรเวลเอเจนซี่จะมีลักษณะคล้ายกันคือมีขนาดเล็กและเป็นธุรกิจของครอบครัวและให้บริการที่อยู่ในทำเลใกล้เคียงโดยมักจะขายผลิตภัณฑ์และบริการท่องเที่ยวหลากหลายประเภทโดยอาจสรุปได้ 4ประเภทคือ
1) แบบที่มีมาแต่เดิม( a conventional agency)
2) แบบที่ขายทางอินเตอร์เน็ต(online agencies)
3) แบบที่ชำนาญเฉพาะทาง(specialized agencies)
4) แบบที่ประกอบธุรกิจจากที่พัก(home based agencies)
I. แบบที่มีมาแต่เดิม
แทรเวลเอเจนซี่ ประเภทนี้มักขายผลิตภัณฑ์และบริการทางการท่องเที่ยวที่หลากหลายและเต็มรูปแบบเช่นขายบัตรโดยสารเครื่องบิน ที่พัก บริการเช่ารถ บัตรโดยสารรถไฟ เรือสำราญ โปรแกรมทัวร์แทรเวลเอเจนซี่พวกนี้อาจแบ่งย่อยได้อีกตามลักษณะการบริหารการจัดการ
1.1แทรเวลเอเจนซี่เป็นเครือข่าย
1.2แทรเวลเอเจนซี่แบบแฟนไชส์
1.3แทรเวลเอเจนซี่อาจเกี่ยวข้องกันในลักษณะของคอนซอเตียม
1.4แทรเวลเอเจนซี่แบบอิสระ
แบบที่ขายทางอินเตอร์เน็ต
แบบที่ขายทางอินเตอร์เน็ตเริ่มเกิดขึ้นเมื่อ10ปีที่ผ่านมาเอเจนซี่ประเภทนี้ประกอบธุรกิจผ่านทางอินเตอร์เน็ตและบางครั้งอาจให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์บ้าง
แบบที่ชำนาญเฉพาะทาง
เอเจนซี่แบบอิสระ และแบบที่เป็นส่วนหนึ่งของคอนซอเตียม พบว่าอาจจะทำธุรกิจได้ดีขึ้นหากขายไปยังกลุ่มตลาดลูกค้าที่มีความต้องการเฉพาะทาง เช่น ตลาดนักธุรกิจ ตลาดเรือสำราญ ตลาดลูกคาระดับสูงเป็นต้น
แบบที่ประกอบธุรกิจจากที่พัก
ในปัจจุบันที่ธุรกิจต่าง ๆสามารถทำได้โดยผ่านทางอินเตอร์เน็ต ผู้ประกอบการแทรเวลเอเจนซี่อาจจะปรับเปลี่ยนบ้านหรือที่พักเป็นสำนักงาน ซึ่งเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปยังสำนักงาน ละไม่ต้องใช้งบประมาณสูง
ประโยชน์ของการใช้บริการของบริษัท
1) ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย
ทัวร์ที่มีการวางแผนอย่างดี และจัดได้ดีจะทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวและชมสถานที่ท่องเที่ยวโดยใช้เวลาอย่างเหมาะสมและได้รับความสะดวกสบาย
2) ประหยัดค่าใช้จ่าย
บริษัททัวร์มีบทบาทเป็นผู้ขายส่ง โดยจะมีการซื้อสินค้าทางการท่องเที่ยวในปริมาณมาก เช่น มีการจองห้องพักและที่นั่งโดยสารเครื่องบินในปริมาณมากเพื่อมาทำโปแกรมทัวร์
3) ได้ความรู้
จากการศึกษานักท่องเที่ยวที่เดินทางกับบริษัททัวร์พบว่า นักท่องเทียวกล่าวถึงว่าได้ความรู้เป็นประเด็นสำคัญในการเดินทางกับบริษัททัวร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมัคคุเทศก์ที่ดีมีความสามารถถ่ายทอดความรู้ได้มากกว่าอ่านหนังสือนำเที่ยว
4) ได้เพื่อนใหม่
นักท่องเที่ยวที่ซื้อโปรแกรมทัวร์ประเภทเดียวกันมักจะมีความสนใจที่เหมือนกานและมีสถานภาพทางเศษฐกิจและสังคมในระดับใกล้เคียงกัน
5) ได้ความสบายใจและรู้สึกปลอดภัย
นักท่องเที่ยวที่ซื้อโปรแกรมทัวร์ไปยังสถานที่ต่างๆที่ที่ไม่คุ้นเคยอาจจะทำให้ขาดความมั่นใจและเกรงว่าจะไม่ปลอดภัย การเดินทางไปกับทัวร์จะทำให้รู้สึกสบายใจว่ามีมัคคุเทศน์คอยดูแลและรู้สึกปลอยภัย
6) ไม่มีทางเลือกอื่น
บางครั้งการเดินทางท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลสำคัญอาจจะทำให้หาที่พักได้ยากนักท่องเที่ยวจึงหันมาซื้อโปรแกรมทัวร์เนื่องจากบริษัททัวร์มักจะมีห้องพักที่จองไว้แล้วเนื่องจากบริษัททัวร์มักจะมีการจองห้องเป็นจำนวนมาก
ประเภทของทัวร์
ทัวร์แบบเหมาจ่ายแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆได้3ประเภท
• ทัวร์แบบอิสระ(independent tour)
• ทัวร์แบบไม่มีผู้นำเที่ยว(hosted tour)
• ทัวร์แบบมีผู้นำเที่ยว(escorted tour)
1. ทัวร์แบบอิสระ(independent tour)
เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางทอ่งเที่ยวแบบอิสระ ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยที่พักในโรงแรม บัตรโดยสารเครื่องบิน และการบริการรถรับส่งจากสนามบินหรือรถเช่าทัวร์แบบอิสระจะทำให้นักท่องเที่ยวมีเสรีที่จะวางแผนกิจกรรมต่างๆ
2. ทัวร์แบบไม่มีผู้นำเที่ยว(hosted tour)
หมายถึง โปรแกรมทัวร์แบบเหมาจ่ายที่ได้รับการบริการจากตัวแทนของบริษัททัวร์ ณแหล่งท่องเที่ยว ตัวแทนบริษัททัวร์จะเข้ามาพบนักท่องเที่ยวเพื่อให้คำแนะนำหรือให้คำปรึกษาในเวลาที่กำหนดไว้ในแต่ละวัน
3. ทัวร์แบบมีผู้นำเที่ยว(escorted tour)
หมายถึงโปรแกรมทัวร์แบบเหมาจ่ายที่รวมบริการของมัคคุเทศก์ตลอดเส้นทางทัวร์ประเภทนี้นักท่องเที่ยวจะเดินทางเป็นกลุ่มโดยจะมีมัคคุเทศก์ร่วมเดินทางไปด้วย ทัวร์ประเภทนี้เป็นที่นิยมมากสำหรับผู้ที่เดินทางไปต่างประเทศเป็นครั้งแรก
บริษัทรับจัดการประชุม
เนื่องจากตลาดการประชุมทั้งในและนอกประเทศมีการเติบโตสูงในช่วง20ปีที่ผ่านมาจึงได้เกิดธุรกิจใหม่ที่ให้การบริการด้านการจัดการประชุมซึ่งธุรกิจนี้เป็นผู้จัดจำหน่ายที่สำคัญของธุรกิจโรงแรม
บริษัทรับจัดการประชุมมีหน้าที่ดังนี้
เลือกสถานที่สำหรับการประชุม
จองห้องพัก
จองห้องประชุม และอุปกรณ์สำหรับการประชุม
ดำเนินการวางแผนด้านอาหารและเครื่องดื่ม
- ประสานงานกับผู้จัดการประชุมของโรงแรมและสถานที่จัด
- ประสานงานกับวิทยากรหรือผู้รับเชิญ
- ดำเนินการวางแผนด้านการรักษาความปลอดภัยหรือแก้ไขวิกฤต
- บริการด้านการเดินทางและขนส่ง
- ประเมินผลงานเมื่อการประชุมสิ้นสุดลง
บทที่ 6 ที่พักแรม





ธุรกิจที่พักแรมในสากล/ต่างประเทศ
ที่พักแรมมีมาแต่ยุคโบราณ ย้อนหลังไปถึงยุคอารยธรรมกรีกและโรมัน เกิดขึ้นสนองความต้องการที่พักของนักเดินทางที่ไม่สามารถไปกลับได้ในวันเดียว ปริมาณการเดินทางในอดีตมีไม่มาก ที่พักส่วนใหญ่ขยายตัวไปตามความเจริญทางสังคม
โรงแรม(Hotel)
เป็นธุรกิจที่พักแรมที่สำคัญในปัจจุบัน คำเรียกที่พักว่าhotelนี้เดิมมาจากภาษาฝรั่งเศสและมาปรากฏใช้เรียกธุรกิจประกอบการที่พักแรมในอังกฤษและอเมริกาในศตวรรษที่18และเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว
กลุ่มหรือเชน(chain)โรงแรมที่สำคัญ ได้แก่ intercontinental holiday inn Marriott Sofitel Hilton Conrad Sheraton Hyatt le meridianเป้นต้น
ธุรกิจที่พักแรมในประเทศไทย
ธุรกิจที่พักแรมสำหรับบริการนักเดินทางต่างชาติในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นอยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาในสมัยรัชกาลที่ 4 มีชาวตะวันตกเข้ามาจำนวนมาก มีการลงประกาศข่าวในหนังสือพิมพ์ยุคนั้นเกี่ยวกับธุรกิจที่พักแรมประเภทบอร์ดดิ้งเฮ้าส์
กิจการโฮเต็ล หรือโรงแรมที่สำคัญในอดีตได้แก่
- โอเรียนเต็ลโฮเต็ล
- โอเต็ลหัวหิน
- โอเต็ลวังพญาไท
- โรงแรมรัตนโกสินทร์
ปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญได้แก่
• ความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้พัก
• ความสะอาดและสุขอนามัยในสถานที่พัก
• ความสะดวกสบายจากบริการสิ่งอำนวยความสะดวกที่หลากหลายและสนองต่อความต้องการของผู้พักกลุ่มต่าง
• ความเป็นส่วนตัว
• บรรยากาศการตกแต่งที่สวยงาม
• ภาพลักษณ์ของกิจการ และอื่นๆ

ประเภทที่พักแรม
1) โรงแรม(hotel)เป็นที่พักแรมที่นิยมมากของนักท่องเที่ยวทั่วไป โรงแรมมาตรฐานสากลจะมีรูปแบบการดำเนินการบริการที่เป็นแบบแผน ซึ่งเป็นที่คุ้นเคยในกลุ่มผู้ใช้บริการในพระราชบัญญัติโรงแรม ฉบับปี พ.ศ.2547ได้ระบุข้อความว่า
โรงแรม หมายความว่า สถานที่พักที่จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในทางธุรกิจเพื่อให้บริการที่พักชั่วคราวสำหรับคนเดินทาง หรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน ทั้งนี้ไม่รวมถึง
• สถานที่พักที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการที่พักชั่วคราวซึ่งดำเนินการโดยส่วนราชการ
• สถานที่พักที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการที่พักอาศัยโดยคิดค่าบริการเป็นรายเดือนขึ้นไปเท่านั้น
• สถานที่พักอื่นใดตามที่กำหนดในกฏกระทรวง
เกณฑ์การจำแนกประเภทโรงแรม
โรงแรมมีอยู่มากมายทั่วโลกสามารถจำแนกประเภทได้โดยใช้เกณฑ์ด้านต่างๆดังนี้
• ด้านที่ตั้ง(location)
• ด้านขนาด(size)
• ด้านจุดประสงค์ของผู้มาพัก(purpose of visit)
• ด้านราคา(price/rate)
• ด้านระดับการบริการ(service level)
• ด้านการจัดระดับมาตรฐานโดยใช้สัญลักษณ์(classification/grading)
การใช้สัญลักษณ์สื่อถึงระดับมาตรฐานกิจการได้รับความนิยมทั่วไป เครื่องหมายสัญลักษณ์ที่กลายเป็นที่รู้จักในสากลคือ ดาว(1-5ดวง)
ด้านความเป็นเจ้าของและรูปแบบการบริหารแบ่งได้2กลุ่มใหญ่คือ
1. โรงแรมอิสระ(independent hotels)
เป็นโรงแรมที่เจ้าของกิจการดำเนินการเอง ตามนโยบายและวิธีการที่กำหนดขึ้นเองอย่างอิสระ มีอำนาจในการบริหารโดยสมบูรณืทำให้คล่องตัวในการจัดการ
2. โรมแรมจัดการแบบกลุ่ม/เครือหรือเชน(chain hotels)
หมายถึงโรงแรมที่อยู่ภายใต้การบริหารจัดการแบบกลุ่มมักมีการใช้ชื่อประกอบการที่แสดงความเป็นสมาชิกในกลุ่มเดียวกันโดยมีสำนักงานส่วนกลางควบคุมด้านนโยบาย วางระบบการบริหารจัดการให้เป็นไปในทางเดียวกัน มีข้อตกลงตามสัญญาในการดำเนินธุรกิจร่วมกัน
2) ที่พักนักท่องเที่ยว
• บ้านพักเยาวชน
• ที่พักพร้อมอาหารเช้าราคาประหยัด
• ที่พักริมทางหลวง
• ที่พักแบบจัดสรรเวลาพัก
• เกสต์เฮ้าส์
• อาคารชุดบริการที่พักระยะยาว
• ที่พักกลางแจ้ง
• โอมสเตย์
แผนกงานในโรงแรม
โรงแรมมีแบบแผนการดำเนินการที่เป็นรูปแบบเฉพาะแบ่งเป็นแผนกงานสำคัญได้ดังนี้
• แผนกงานส่วนหน้า(front office)เป็นศุนย์กลางการติดต่อระหว่างโรงแรมและแขกผู้พักรับผิดชอบการรับจองห้องพัก การต้อนรับ ลงทะเบียน บริการข้อมูล ขนย้ายสัมภาระ และรับชำระค่าใช้จ่าย
• แผนกงานแม่บ้าน(housekeeping)รับผิดชอบการจัดเตรียมห้องพักแขก การทำความสะอาดเรียบร้อยในพื้นที่ต่างๆการซักรีดการจัดดอกไม้ตกแต่งสถานที่
• แผนกอาหารและเครื่องดื่ม(food&beverage)รับผิดชอบกระบวนการผลิต/ประกอบ/ปรุงอาหารและการบริการอาหาร-เครื่องดื่มในพื้นที่ต่างๆรวมถึงการจัดเลี้ยง
• แผนกขายและการตลาด(sales&marketing)รับผิดชอบวางแผนตลาดและควบคุมการใช้กลยุทธ์การตลาดที่เหมาะสมเพื่อสร้ารายได้แก่ธุรกิจ
• แผนกบัญชีและการเงิน(accounting)ดูแลจัดทำบัญชีและควบคุมการเงินของโรงแรม
• แผนกทรัพยากรมนุษย์(human resources)ในบางกิจการขนาดเล็กจะเป็นแผนกบุคคล
รูปแบบการจัดห้องพักมาตรฐานโรงแรมทั่วไป
ประเภทห้องพัก
o Single ห้องพักสำหรับนอนคนเดียว ในต่างประเทศจะเป็นห้องพักเตียงเดี่ยว
o Twin ห้องพักเตียงคู่แฝด ประกอบเตี่ยงเดี่ยว 2 เตียงตั้งเป็นคู่วางแยกกัน
o Doubleห้องพักเตียงคู่ที่เป็นเตียงเดียวขนาดใหญ่ สำหรับนอนได้2คนบางครั้งให้บริการแก่ผู้พักที่มาคนเดียวเพื่อความสะดวกสบายยิ่งขึ้น
o Suite ห้องชุดที่ภายในประกอบด้วยห้องตั้งแต่ 2ห้องขึ้นไปโดยกั้นเป็นสัดส่วนแบ่งเป็นห้องนอนและห้องนั่งเล่น ในโรงแรมมาตรฐานชั้นดีตามแบบสากลมักมีห้องชุดที่ตกแต่งสวยงาม บริการในอัตราราคาสูง
บทที่5 การคมนาคมขนส่ง (Transportation)


การคมนาคมขนส่ง หมายถึง กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายคน สัตว์ สิ่งของ จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยสื่อกลางต่าง ๆ ภายใต้ และราคาที่ได้ตกลงกันไว้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การคมนาคมขนส่งจะต้อง
• เป็นกิจกรรมที่ต้องมีการขนส่ง (คน สัตว์ สิ่งของ)จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
• การขนส่งนั้นต้องอาศัยอุปกรณ์ต่างๆ
• การขนส่งนั้นต้องเป็นไปตามความต้องการของผู้ที่ต้องการใช้บริการ
พัฒนาการขนส่งทางบก
ประวัติการขนส่งทางบก เริ่มขึ้นในสมัย 200ปีก่อนคริสตกาล หรือยุคบาบิลินซึ่งใช้คนลากรถสองล้อไปบนถนน ก่อนที่จะนำสัตว์เช่น วัว ลา มาช่วยลากรถสองล้อในยุคอียิปต์และกรีก จนกระทั่งในยุคโรมันจึงได้มการพัฒนาการขนส่งจากรถลากสองล้อมาเป็นรถสี่ล้อที่ใช้ม้าลาก
พัฒนาการขนส่งทางน้ำ
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ทำให้เราทราบว่า การขนส่งทางน้ำเป็นการขนส่งที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยมีการพัฒนาแพขึ้นมาจากท่อนไม้ และต่อมานำต้นไม้ทั้งต้นมาขุด เจาะเป็นลำเรือดังหลักฐานที่พบได้มากจากเรือรุ่นแรกที่ขุดพบในประเทศอียิปต์เมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว โดยมีรูปร่างคล้ายตะกร้าลอยน้ำขนาดใหญ่ที่อุดชันด้วยยางไม้ธรรมชาติหลังจากนั้นได้มีการพัฒนาขึ้นโดยนำเอาหนังสัตว์ขนาดต่าง ๆ มาขึงโครงไม้ทำเป็นเรือที่เรียกว่าเรืองหนังสัตว์(coracles)
พัฒนาการขนส่งทางอากาศ
อาจจะกล่าวได้ว่าหลังจากปีค.ศ.1903ซึ่งเป็นปีที่สองพี่น้องตะกูลwrightได้คิดค้นและประดิษฐ์เครื่องบินขึ้นเป็นครั้งแรก ก็ได้มีความพยายามพัฒนารูปแบบและเครื่องยนต์ให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ ดังจะเห็นได้จากได้มีการผลิตเครื่องบินออกมาใช้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่1
ประเภทของธุรกิจการคมนาคมขนส่งเพื่อการท่องเที่ยว
อาจจะกล่าวได้ว่าธุรกิจการคมนาคมขนส่งเพื่อการท่องเที่ยว สามารถแบ่งแยกออกได้เป็น 3ประเภทเช่นกัน ได้แก่
1. ธุรกิจการขนส่งทางบก
การคมนาคมขนส่งทางบกจัดว่าเป็นรูปแบบการเดินทางที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างยิ่งมากโดยเฉพาะการเดินทางโดยรถยนต์เนื่องจากความสะดวก คล่องตัวและประหยัด
-การเดินทางท่องเที่ยวโดยรถไฟ
ในประเทศไทยนั้นการเดินทางด้วยรถไฟยังไม่ค่อยนิยมมากนัก เนื่องจากเมื่อเปรียบเทียบกับทางรถยนต์แล้วมีราคาค่อนข้างแพง
-การเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว
การเดินทางท่องเที่ยวทางรถยนตร์ได้รับความนิยมมากจงบจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้เนื่องจากเหตุผลหลักต่อไปนี้เช่นการประหยัด สะดวก รวดเร็วและคล่องตัว
-การท่องเที่ยวโดยรถเช่า
การเดินทางท่องเที่ยวทางถนนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับรถยนต์กับรถยนตร์ส่วนบุคคลแล้วยังครอบคลุมถึงการเดินทางท่องเที่ยวโดยรถเช่าและรถตู้เพื่อนันทนาการ
ธุรกิจเช่ารถจะแบ่งได้2ประเภทใหญ่
- บริษัทเช่ารถระหว่างประเทศขนาดใหญ่
-บริษัทรถเช่าขนาดเล็กอิสระ
รถตู้เพื่อนันทนาการ
ในรถตู้ปัจจุบันเพื่อนันทนาการนับเป็นยานพาหนะที่สำคัญอีกประเภทหนึ่งที่นักท่องเที่ยวนิยมใช้เดินทาง โดยเฉพาะในทวีปอเมริกาและยุโรป
รถโดยสารเพื่อการท่องเที่ยว
รถโดยสารมีประวัติความเป็นมายาวนานตั้งแต่สมัยรถม้าโดยสาร และปรับปรุงจนเป็นรถโดยสารที่ใช้เครื่องยนตร์หลังจากได้มีการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องยนต์ขึ้นมาสามารถแบ่งออกได้2ประเภท
-รถโดยสารประจำทาง คือให้บริการจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งตามตารางเดินรถที่แน่นอน
-รถโดยสารไม่ประจำทางหรือรถเช่าเหมา เพื่อการท่องเที่ยว การเดินทางโดยรถโดยสารประจำทางได้ลดลงกว่าในอดีต
2. ธุรกิจการขนส่งทางน้ำ
เรือเดินทะเล (ocean-lines)เป็นเรือคมนาคมขนส่งจากเมืองท่าหนึ่งไปอีกเมืองท่าหนึ่งปัจจุบันความนิยมในการคมนาคมขนส่งโดยเรือแบบนี้ได้ลดน้อยลงไปแล้ว
เรื่อสำราญ (cruise ships/lines)ในยุคแรกระหว่างปีค.ศ.1960-1970เรือสำราญมีขนาดระหว่าง18000-22000ตันทำการขนส่งผู้โดยสารประมาณ650-850คนเทคโนโลยีทางทะเลช่วยให้สามารถสร้างเรือสำราญให้ใหญ่กว่าเดิมได้หากมีความต้องการ
เรือสำราญคล้ายโรงแรมลอยน้ำ คือ มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน และมีบริการที่ประทับใจ ได้แก่ ห้องพักหลายประเภทตั่งแต่ห้องพักธรรมดาจนถึงหรูหรามีห้องประชุมและห้องจัดเลี้ยง จัดอาหารทุกมื้อและมีหลายชนิด มีการบันเทิง เช่นดนตรี การแสดงกิจกรรมเป็นต้น
เรือข้ามฟาก(ferry) เป็นเรือสำหรับการเดินทางระยะสั้นๆซึ่งสามารถบันทุกผู้โดยสาร รถยนต์ รถโดยสาร หรือบางครั้งรถไฟ
เรือใบและเรือยอร์ช (sail cruise and yacht) ในอดีตจะมีเพียงผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจที่ร่ำรวยเท่านั้นที่สามารถซื้อเรือยอร์ชหรือเรือใบไว้ท่องเที่ยว
เรือบรรทุกสินค้า(cargo lines) นักท่องเที่ยวบางกลุ่มชอบที่จะท่องเที่ยวไปกับเรือบรรทุกสินค้าที่ไม่รีบเร่งและจอดตามเมืองท่าต่างๆ ทั่วโลก โดยทั่วไปเรือบรรทุกสินค้าสามารถรับผู้โดยสารได้ประมาณ12 คน
ธุรกิจการขนส่งทางอากาศ (air transportation)
สงครามโลกครั้งที่2ก่อให้เกิดผมดีในระยะยาวต่อการเติบโดตของธุรกิจการบินพาณิชย์ เช่นเทคโนโลยี
การบินด้วยความเร็ว ประสิทธิภาพของเชื้อเพลิงที่คิดค้นขึ้นในช่วงสงคราม การพัฒนาลำตัวเครื่องบินให้กว้างขวางขึ้น ความรู้เรื่องอากาส และการปรับปรุงแผนที่ทางอากาศ การฝึกฝนนักบินโดยใช้เครื่องบินที่เหลือจากสงครามจำนวนมาก ตลอดจนการพัฒนาเครื่องบินไอพ่น(jet aircraft)ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารทางอากาศได้เป็นอย่างดี
การเดินทางท่องเที่ยวทางอากาศแบ่งออกเป็น3ประเภทใหญ่คือ
การบินลักษณะเที่ยวบินประจำ(scheduled air service)เป็นการบินระหว่างเมืองต่อเมืองโดยมีคารางการบินที่แน่นอน การบินประเภทนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภทย่อยคือ
-เที่ยวบินประจำภายในประเทศ (domestic flight)
-เที่ยวบินประจำระหว่างประเทศ (international flight)
การบินลักษณะเที่ยวบินไม่ประจำ (non-scheduled air service)
เป็นการบินที่จัดเสริมในตาราง และสามารถแวะรับส่งผู้โดยสารทั่วไปโดยไม่ต้องเป็นกลุ่มเดิมได้ จึงได้รับความนิยมมากในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว
การบินลักษณะเที่ยวบินเช่าเหมาลำ (chartered air service)เป็นการบินที่ให้บริการแก่กลุ่มสมาชิกสมาคมหรือองค์การ หรือกลุ่มนักท่องเที่ยว รับ-ส่งผู้โดยสารเฉพาะกลุ่มเดิมได้เท่านั้นราคาค่าโดยสารถูกกว่าราคาเที่ยวบินของสายการบินปกติ